![]() |
ภาพจาก: www.ssmhealth.com |
ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
“หัวใจเรายังเต้นเป็นจังหวะ
และจังหวะเป็นส่วนหนึ่งของดนตรี”
จากประโยคสั้น ๆ ของคุณ เนตรชนก สิงห์เห นักดนตรีบำบัด คงทำให้ผมและใครหลายคนคิดได้ว่า ดนตรีนั้นเป็นส่านหนึ่งของชีวิตมนุษย์มาตั้งแต่เกิดจริงๆ ดังนั้นจึงไม่แปลกหากจะนำดนตรีมาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยทำให้ชีวิตมนุษย์ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านจิตใจ
ดนตรีบำบัด คืออะไร?
จากข้องมูลของคณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้ความหมายว่า ดนตรีบำบัด (music therapy) คือ การใช้กิจกรรมทางดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการฟังหรือเล่นดนตรี การร้องเพลง
แต่งเพลง เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ฟื้นฟูสภาพร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา
ดนตรีบำบัดมักใช้ในโรงพยาบาล ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงเรียน สถานเลี้ยงดู
หรือแม้กระทั่งในที่พักอาศัย
โดยนักดนตรีบำบัด
จะเป็นผู้วางแผนการบำบัดและดำเนินการผ่านทางกิจกรรมโดยใช้เสียงดนตรี การฟังเพลง
การร้องเพลง เคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง การเล่นเครื่องดนตรี
หรือแม้กระทั่งการแสดงความคิดเห็นต่อเพลงที่ฟัง
ซึ่งดนตรีบำบัดไม่ได้มีเป้าหมายที่ทักษะดนตรี แต่เน้นในด้านพัฒนาการทางด้านร่างกาย
จิตใจ อารมณ์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคล ที่มารับการบำบัดโรค
บำบัดสมอง และบำบัดจิต ซึ่งดนตรีบำบัดจะเข้ามามีส่วนช่วยทำให้ดีขึ้น
![]() |
ภาพจาก: http://ukhealthcare.net/blog/music-therapy |
จากความหมายข้างต้นจึงพอสรุปได้ว่าดนตรีบำบัดนั้นไม่ใช่การรักษาโรคโดยตรง
แต่เป็นการใช้กิจกรรมทางดนตรี มาบำบัดเสริมควบคู่กับการรักษาโรค เน้นไปที่จิตใจ
อารมณ์ เมื่อคนไข้มีจิตใจ อารมณ์ที่ดีขึ้นย่อมส่งผลต่อร่างกายด้วย
ประโยชน์ของดนตรีบำบัด
นพ.ทวีศักดิ์
สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กล่าวว่า ดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ
และกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงวัย
เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างกันไป เช่น ปัญหาบกพร่องของพัฒนาการ สติปัญญา
และการเรียนรู้,
โรคซึมเศร้า, โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์,
โรคหลอดเลือดสมอง, ความพิการทางร่างกาย,
อาการเจ็บปวด และภาวะอื่นๆ
สำหรับบุคคลทั่วไป
ก็สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้เช่นกัน ช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียด
และประกอบในการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีดังนี้
1) ปรับสภาพจิตใจให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีความสงบ และมีทัศนคติในเชิงบวกเพิ่มขึ้น
2) ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล (anxiety/ stress management)
3) กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (cognitive skill)
4) กระตุ้นการรับรู้ (perception)
5) เสริมสร้างสมาธิ (attention span)
6) เสริมสร้างทักษะสังคม (social skill)
7) พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (communication and language skill)
8) พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (motor skill)
9) ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tension)
10) การจัดการอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่างๆ (pain management)
11) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (behavior modification)
12) สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่างๆ (therapeutic alliance)
13) ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่างๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
1) ปรับสภาพจิตใจให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีความสงบ และมีทัศนคติในเชิงบวกเพิ่มขึ้น
2) ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล (anxiety/ stress management)
3) กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (cognitive skill)
4) กระตุ้นการรับรู้ (perception)
5) เสริมสร้างสมาธิ (attention span)
6) เสริมสร้างทักษะสังคม (social skill)
7) พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (communication and language skill)
8) พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (motor skill)
9) ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tension)
10) การจัดการอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่างๆ (pain management)
11) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (behavior modification)
12) สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่างๆ (therapeutic alliance)
13) ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่างๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
โดยสรุปดนตรีบำบัด
มีประโยชน์หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ โดยบูรณาการเข้ากับการบำบัดรักษาอื่น ๆ
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ทั้งในโรงพยาบาล ในโรงเรียน และในกลุ่มเด็กพิเศษ
ใครบ้างที่ควรเข้ากลุ่มดนตรีบำบัด?
• บุคคลที่มีปัญหาพัฒนาการด้านร่างกายและสมอง
• ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ: ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง
• มีพฤติกรรมแยกตัวจากสังคม
• มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
• ขาดทักษะด้านการสื่อสาร
• ขาดทักษะด้านการคิด
• ไม่มีสมาธิ
• ซึมเศร้า
• ภาวะสมองเสื่อม (สูญเสียความจำ)
• ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ: ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง
• มีพฤติกรรมแยกตัวจากสังคม
• มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
• ขาดทักษะด้านการสื่อสาร
• ขาดทักษะด้านการคิด
• ไม่มีสมาธิ
• ซึมเศร้า
• ภาวะสมองเสื่อม (สูญเสียความจำ)
สุดท้ายนี้อยากฝากถึงผู้ที่สนใจเรื่องดนตรีบำบัด
ติดต่อได้ที่ สาขาวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น